วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

...มาตรวัดแห่งศรัทธา

วิทเธอร์ริงตันกล่าวว่า เหตุที่ "ดาวินชี โคด" ได้รับความสนใจเช่นทุกวันนี้ "เกิดจากการที่ผู้คนเริ่มตั้งคำถามต่อเรื่องราวในไบเบิล และทำใจออกห่างจากคำตอบเดิมๆ ที่พวกเขาคุ้นชินนั่นเอง" อย่างไรก็ดี เขาและอีกหลายคนเห็นว่านี้อาจจะเป็นโอกาสอันดีที่จะเรียกคืนศรัทธาที่มีต่อคริสตศาสนา โดยใช้ความอื้อฉาวของ "ดาวินชี โคด" เป็นตัวจุดชนวน ซึ่งแอททริดจ์ได้เสนอแนะว่า"ถ้าผู้คนหลงใหลในคำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อย่างมากแล้วล่ะก็ มันยังมีผลงานนอกเหนือจาก ´ดาวินชี โคด´ อีกนับพันๆ ชิ้นเลยทีเดียว"ปีเตอร์ สมิธ ผู้พิพากษาอังกฤษผู้ที่ช่วยบราวน์ในการยืนยันสิทธิ์ในหนังสือของเขา จากการฟ้องร้องข้อหาขโมยแนวคิดในงานเขียนเมื่อเดือนที่ผ่านมานั้น ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับตัวตนของหนังสือเล่มนี้อย่างดีทีเดียว"แค่การที่นักเขียนได้บรรยายถึงเหตุการณ์นั้นว่าเป็นเรื่องจริง ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นเรื่องจริงเสมอไป มันกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วที่การนำความจริง (fact) และนิยาย (fiction) มาผสมรวมกันเพื่อให้เกิดรูปแบบของ faction (งานเขียนที่ผสมระหว่างเรื่องจริงและเรื่องแต่งเข้าไว้ด้วยกัน) และสิ่งที่ผู้คนคิดว่าเป็นเรื่องจริงของตัวหนังสือและภาพยนตร์ได้จูงใจต่อนักอ่านและผู้ชมไปในที่สุด และอันตรายของมันก็คือการที่ผู้คนเริ่มสนใจในงาน faction กันมากขึ้นและเริ่มยอมรับมันว่าเป็นข้อเท็จจริงกันหมดแล้ว"

จาก http://entertain.teenee.com/star/2619.html

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

...สถานะทางการสมรสของพระเยซู

คำอ้างของแดน บราวน์ : พระเยซูซึ่งเป็นชาวยิวจำเป็นต้องสมรส เนื่องจากสภาพสังคมยุคนั้นแทบจะห้ามชายยิวครองตัวเป็นโสด พระเยซูซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์เดวิด จึงได้สมรสกับแมรี แม็กดาลีนซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์เบนจามิน และธิดาของทั้งสองพระองค์ต่างสืบสายพระโลหิตต่อมาในประเทศฝรั่งเศสนับแต่นั้น คำอ้างของนักวิจารณ์ : โจเซฟัส นักประวัติศาสตร์ชาวยิวซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 1 ยืนยันว่าชาวยิวล้วนแต่มีคู่ครองทั้งสิ้น เว้นแต่ผู้ทรงศีลอย่างพระเยซูเท่านั้นที่ไม่จำเป็นต้องมีคู่สมรส และผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องกันว่าตำนานเรื่องแมรี แม็กดาลีนนั้น เกิดขึ้นในสมัยยุคกลางนี่เองใน "ดาวินชี โคด" แดน บราวน์ได้อ้างถึงคัมภีร์ของฟิลลิป ซึ่งเป็นประจักษ์พยานในการสมรสของพระเยซู แต่ข้อความที่ระบุใจความสำคัญดังกล่าวกลับมีรอยขาดวิ่นอยู่มากทีเดียว" แมรี แม็กดาลีน.......ต่อเธอมากกว่า.......สาวกคนอื่นๆ .......จูบเธอ.......บน......."พระเยซูจูบเธอที่ริมฝีปาก? บนแก้มหรือฝ่ามือ? อย่างไรก็ดีผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าตามแนวคิดหลักของคัมภีร์นอสติกแล้ว ความสัมพันธ์ครั้งนี้น่าจะเป็นแบบพลาโตนิก(platonic) หรือการแสดงออกซึ่งความรักที่ปราศจากอารมณ์เพศ หรือการแสดงออกทางจิตวิญญาณ(spiritual) มากกว่าเจมส์ เอ็ม. โรบินสัน ผู้เชี่ยวชาญจากบัณฑิตวิทยาลัย Claremont Graduate University แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ชี้ว่าการที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจต่อเรื่องแมรี แม็กดาลีนในปัจจุบันนั้น "ก็เพราะต้องการขุดคุ้ยเรื่องราวในชีวิตทางเพศของทั้งสอง มากกว่าจะสนใจตัวตนและที่มาของแมรี แม็กดาลีนและพระเยซูอย่างแท้จริง"

จาก http://entertain.teenee.com/star/2619.html

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

...เกี่ยวกับพันธสัญญาใหม่

คำอ้างของแดน บราวน์ : มีคัมภีร์กว่า 80 เล่มที่ได้รับการยอมรับให้เป็นพันธสัญญาใหม่ (New Testament) แต่จักรพรรดิคอนสแตนตินเลือกออกมาแค่ 4 เล่ม โดยกีดกันคัมภีร์ที่กล่าวถึงพระเยซูอย่างมนุษย์ธรรมดา และส่งเสริมคัมภีร์เล่มที่กล่าวถึงพระเยซูราวกับเป็นเทพเจ้า หลังจากนั้นคัมภีร์เล่มที่เหลือก็กลายเป็นสิ่งผิดกฏหมาย และถูกรวบรวมเพื่อทำการเผาทำลายในที่สุด ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ลิขิตเดดซี (Dead Sea Scrolls) และลิขิตค็อปติกแห่งเมืองนัก ฮัมมาดี (Nag Hammadi manuscript) คือบันทึกทางศริสตศาสนาแรกเริ่มที่แท้จริง ไม่ใช้คัมภีร์ทั้ง 4 แต่อย่างใดคำอ้างของนักวิจารณ์ : ชาวคริสต์ในช่วงศตวรรษแรกต่างให้ความศรัทธาต่อคัมภีร์ทั้ง 4 เล่มของนักบุญมัทธิว มะระโก ลูกา และยอห์น ส่วนจดหมายของนักบุญพอลได้รับความศรัทธาต่อมาในศตวรรษที่ 2 ส่วนคัมภีร์อีก 27 เล่มนั้นไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายจนกระทั่งสิ้นสุดยุคสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน ซึ่งตัวจักรพรรดิคอนสแตนตินเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเหล่านั้นเลยโดยงานที่นอกเหนือจากคัมภีร์ทั้ง 4 ก็ยังได้รับการยอมรับในฐานะเป็นคัมภีร์ทางศาสนาอยู่ แม้มันจะขาดคุณสมบัติในการบรรยายถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญของการเป็นพันธสัญญาใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะที่ระลึกความทรงจำและศรัทธาจากบรรดาสาวกของพระเยซูและอนุชนรุ่นต่อๆ มาเหตุผลหลักที่คัมภีร์เหล่านั้นไม่ได้ถูกรับเลือก ก็เพราะการที่คัมภีร์ไม่อธิบายถึงพระเยซูในฐานะของมนุษย์ปุถุชนนั้นเอง ซึ่งตรงข้ามกับที่แดน บราวน์บรรยายไว้ในหนังสืออย่างสิ้นเชิงเช่นในบันทึกของคัมภีร์นอสติก (Gnostic gospels) ซึ่งตั้งใจที่จะบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับญาณหยั่งรู้อันลึกลับของพระเยซู โดยกล่าวว่าผู้บรรลุแล้วย่อมสามารถหลุดพ้นจากโลกแห่งวัตถุ (material world) ซึ่งพวกเขาเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต่ำทราม รวมทั้งไม่ยอมรับแนวคิดเรื่องพระเจ้าสร้างโลกของศาสนายิวและพันธสัญญาเก่าอีกด้วยส่วนข้อหาในการเผาทำลายคัมภีร์ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสิ่งนอกรีต (heretical) นั้น ผู้เชี่ยวชาญอย่างเออร์แมนแย้งว่ามีหลักฐานที่ยืนยันถึงเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่น้อยมาก และชี้ว่าการที่คัมภีร์ที่ไม่ได้รับการยอมรับค่อยๆ สูญหายไปตามกาลเวลาก็เพราะว่าผู้คนเลิกใช้มันนั่นเอง และไม่มีใครอยากจะนำมาทำสำเนาใหม่ด้วยการคัดลอกด้วยมือ ในยุคที่การพิมพ์ยังไม่ถือกำเนิดขึ้นหลังจากนั้นอีกหลายศตวรรษลิขิตเดดซี (Dead Sea Scrolls) อันที่จริงแล้ว เป็นเอกสารของศาสนายิว ไม่ใช่ผลงานทางศริสตศาสนาแต่อย่างใด ส่วนลิขิตค็อปติกแห่งเมืองนัก ฮัมมาดี (Nag Hammadi manuscript) นั้นก็เป็นผลงานที่เกิดขึ้นหลังจากยุคของพันธสัญญาใหม่ทั้ง 4 เล่มเนิ่นนานทีเดียว

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

...ความเป็นเทวภาพของพระคริสต์


ปัญหาที่ทำให้ "ดาวินชี โคด" ถูกมองว่าเป็นมากกว่านิยายทั่วไป นั้นก็เพราะวิธีการเกริ่นนำของบราวน์ที่ใช้ในงานเขียนของเขา ที่มักจะเริ่มด้วย "ข้อเท็จจริง" และอ้างด้วยว่าข้อมูลทั้งหมดที่เขานำมาใช้นั้น "ถูกต้องตามความเป็นจริงทั้งสิ้น"แดน บราวน์ได้กล่าวไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า "มันเป็นหนังสือที่ว่าด้วยแนวคิดที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งถ้าคุณไม่รักก็จะเกลียดมันไปเลย แต่การที่มันสามารถทำให้พวกเรามานั่งถกกันอยู่นี้ นั่นแหล่ะคือเหตุผลหลักที่ผมสร้างมันขึ้นมา"ในการเดินสายให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเมื่อปี 2003 (ช่วงหลังนี้แดน บราวน์ลดการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อลงอย่างมาก) นั้นแดน บราวน์ได้กล่าวในรายการของ National Public Radio ว่าตัวละครและการกระทำทั้งหมดในเรื่องนี้นั้นเป็นการแต่งขึ้นจากจินตนาการล้วนๆ ส่วนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ข้อมูลที่ไม่เคยถูกเปิดเผย ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ ในเรื่อง ต่างบรรยายตามข้อเท็จจริงทั้งสิ้น เช่นเดียวกับบทสัมภาษณ์ต่อ CNN ที่เขากล่าวว่า "ข้อมูลทั้งหมดคือเรื่องจริง"

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

...การหลังไหลของความเห็น


มาต่อจากเมื่อวานกันดีกว่า

บาร์ท เออร์แมน ศาสตราจารย์คณะศาสนศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย University of North Carolina at Chapel Hill กล่าวว่าปรากฏการณ์ตื่นตัวด้านศาสนาที่เกิดจาก "ดาวินชี โคด" ครั้งนี้เปรียบได้กับความตื่นตระหนกเมื่อศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการปล่อยข่าวลือว่าพระเยซูจะฟื้นพระชนม์ชีพในปี 1844 เลยทีเดียว โดยเออร์แมนย้ำว่าผลกระทบที่หนังสือมีต่อแนวคิดด้านศาสนาของผู้คนในทุกวันนี้ "เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในช่วงชีวิตของเรา"ตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือตัวแทนสถาบันสอนศาสนาที่ Asbury Theological Seminary อย่างเบน วิทเธอร์ริงตัน ที่ 3 ที่วิพากษ์แนวคิดต่างๆ ของแดน บราวน์ด้วยผลงาน "The Gospel Code" ของเขา ได้รับการติดต่อให้ไปบรรยายถึงประเทศสิงคโปร์ ตุรกี และอีก 30 เมืองทั่วสหรัฐฯ รวมทั้งได้ให้สัมภาษณ์ในการออกอากาศไปแล้วถึง 55 ครั้งการวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อ "ดาวินชี โคด" ไม่ได้มีแค่จากนักสอนศาสนาอย่างวิทเธอร์ริงตัน หรือผู้นำแห่งโรมัน คาทอลิกอย่าง พระคาร์ดินัลฟรานซิส จอร์จ แห่งสังฆมณฑลชิคาโกเท่านั้น ที่กล่าวหาว่าบราวน์ได้จู่โจมโลกแห่งคาทอลิกทั้งมวลด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์บ้าๆ บอๆ ของเขาเพราะแม้แต่ผู้ที่น่าจะมีแนวคิดที่เคร่งน้อยกว่าอย่างแฮโรลด์ แอททริดจ์ คณบดีจากคณะเทววิทยาของมหาวิทยาลัย Yale ก็วิจารณ์งานสุดลือลั่นของบราวน์ชิ้นนี้ว่า ตีความโลกของคริสเตียนในยุคแรกได้ "ผิดๆ เพี้ยนๆ อย่างร้ายกาจ" ส่วนศาสตราจารย์ด้านศาสนศาสตร์อย่างเออร์แมนก็ยืนยันว่างานของบราวน์มี "ข้อผิดพลาด" ทั้งด้านข้อเท็จจริงและส่วนของนิยายอย่างนับไม่ถ้วน จนตัวเขาเองยังสงสัยว่า "ทำไมเขาถึงต้องบิดเบือนมันถึงขนาดนั้นด้วย"
จาก http://entertain.teenee.com/star/2619.html